แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

โปรดลงชื่อในสาส์นคำร้องปล่อย ดา ตอร์ปิโด: ผู้ถูกขังเพราะพูด


ที่มา: เอกสารของสมัชชาสังคมก้าวหน้า
พาทัช แปล

สมัชชาสังคมก้าวหน้าส่งจดหมายถึงผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติด้านเสรีภาพ การแสดงออก และ ด้านความเป็นอิสระของศาลและนักกฎหมาย รณรงค์ให้แทรกแซงเพื่อเสรีภาพของ ดา ตอร์ปิโด

เป้าหมาย: เสนอให้ Gabriela Carina Knaul de Albuquerque e Silva (ผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติด้านเสรีภาพการแสดงออก) และ Frank La Rue (ผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติด้านความเป็นอิสระของศาลและนักกฎหมาย)

ริเริ่มโดย : Safe World for Women

ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล เป็นที่รู้จักในเมืองไทยในนาม ดา ตอร์ปิโด เพราะความที่เขาเป็นคนพูดตรง

เขาถูกจับเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2008 (อายุขณะนั้น 46 ปี) ในข้อหาพูดจาหมิ่นสถาบัน ซึ่งเป็นข้อหาฉกรรจ์ของประเทศไทย

เขาถูกคุมขังเป็นเวลา 1 ปี ก่อนจะมีการพิจารณาคดีโดยไม่ได้รับการประกัน ต่อมาในเดือนสิงหาคม 2008 เขาถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 18 ปี

กฎหมายหมิ่นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ถูกใช้จำกัดเสรีภาพในการพูด (ในแง่การเมือง) แทนที่จะเป็นการปกป้องสถาบันซึ่งเป็นจุดหมายของกฎหมายนี้

เบนจามิน ซาแวคคี่ ผู้ทำวิจัยด้านเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จากองค์กรนิรโทษกรรมสากลกล่าว

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเอเซีย (AHRC) ไม่เคยพบเห็นกรณีอื่นใดที่คล้ายกรณีนี้ในแง่ที่ว่าผู้ต้องหายถูกกระทำราวกับ ว่า เขาเป็นภัยอันตรายร้ายแรง อันเกี่ยวเนื่องกับเสรีภาพในการพูด.ทางคณะกรรมการเชื่อว่า ที่เขาถูกกระทำแบบนั้นเพราะว่า ผู้ต้องหาเลือกที่จะสู้คดีแทนที่จะยอมรับผิดและขออภัยโทษ

เหตุการณ์นี้ที่เมืองไทยสำคัญยิ่ง เพราะไม่แต่เพียงเป็นสถานการณ์เลวร้ายลงอย่างมากในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่าน มา แต่ยังเพราะว่า เมืองไทยยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เนื่องจากเมืองไทยเป็นเมืองใหญ่ในแถบนี้และมีพัฒนาการมากกว่าหลายๆ ประเทศในละแวกนี้ ประกอบกับการที่ไทยเป็นประเทศสมาชิกสำคัญในอาเซียน) ถ้าหากว่า ไม่มีอะไรที่จะไปหยุดยั้งความเสื่อมถอยของดัชนีต่างๆ ที่บ่งชี้ถึงสิทธิมนุษยชนของผู้คนในประเทศนี้ ผลเสียหายจะตกแก่ไม่เฉพาะประเทศไทยเองเท่านั้น แต่กับทั้งภูมิภาคโดยรวม

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเอเชีย เขียนในจดหมายเปิดผนึกเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2009 ในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ระดับเสรีภาพสื่อ ของไทยถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลงโดยเพิ่มจาก 124 เป็น 153 ใกล้เคียงเข้าไปทุกทีกับของพม่าซึ่งอยู่ที่ 174 นี่เป็นสิ่งที่น่าวิตกอย่างยิ่งของทุกฝ่าย

ดา ตอร์ปิโด เป็นสัญลักษณ์แห่งการเพิ่มขึ้นของการกดขี่ริดรอนสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในบางส่วนของเอเซีย

พวกเราจะต้องบอกให้ทางรัฐบาลไทย ได้รับรู้ว่า สังคมโลกจะไม่ยืนดูเฉยๆ ในขณะที่เหตุการณ์ในไทยมีพัฒนาการไปเป็น เหตุการณ์แบบพม่าอีกเหตุการณ์หนึ่ง

โปรดลงชื่อในสานส์คำร้องนี้ ที่จะถูกนำเสนอไปยังผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติด้านเสรีภาพการแสดงออก (UN Special Rapporteur on freedom of Expresion) และ ผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติด้านความเป็นอิสระของศาลและนักกฎหมาย (UN Special Rapporteur on the independence of Judges and lawyer) เพื่อเรียกร้องให้ทำการแทรกแซงอย่างเร่งด่วนเกี่ยวกับกรณีของ ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล และเพื่อแสดงความวิตกเกี่ยวกับความเสื่อมถอยลงของเสรีภาพในการแสดงออกและการ ที่กระบวนการยุติธรรมถูกนำมาใช้ในการเมืองของไทย

0 0 0

สานส์คำร้อง

ขอเรียกร้องให้ทำการแทรกแซงเกี่ยวกับกรณีของ ดา ตอร์ปิโด ซึ่งถูกจำคุกอย่างอยุติธรรมในไทย

ข้าพเจ้าเขียนสาสน์นี้ เพื่อเรียกร้องให้ท่านใช้อำนาจในการแทรกแซงเกี่ยวกับกรณีของดารณี ชาญเชิงศิลปกุล และเพื่อให้เห็นถึงความเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ของเสรีภาพในการแสดงออกและการที่กระบวนการยุติธรรมถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ ทางการเมืองของไทย

ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในจดหมายเปิดผนึกจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่ง อาเซียนที่เขียนไว้ในวันที่ 4 กันยายน 2009 ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ได้ถูกตัดสินจำคุก 18 ปี ในวันที่ 28 สิงหาคม 2009 ในโทษความผิด 3 กระทง ในกรณีหมิ่นฯ ข้อกล่าวหานั้นเนื่องมาจากการที่เขากล่าวปราศัย วิจารณ์รัฐประหารปี 2007 ซึ่งเขาเชื่อมโยงสถาบันกษัตริย์กับผู้ก่อการรัฐประหาร ดารณี ได้ยื่นขอประกันตัว 3 ครั้ง แต่ถูกปฎิเสธ โดยที่ศาลไม่ได้ให้เหตุผลประกอบการปฎิเสธนี้จากการใช้มาตรา 108 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

นอกจากนี้ เขาถูกดำเนินคดีในศาลแบบพิจารณคดีลับ ตามมาตรา 117 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งกำหนดการดำเนินคดีในศาลแบบพิจารณาลับ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของส่วนรวม และความมั่นคงของชาติ ทนายความของเขาได้ยื่นอุทธรณ์ไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การตัดสินเป็นโมฆะ เนื่องจากเป็นการตัดสินที่ละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญ แต่ศาลไม่รับอุทธรณ์

การตัดสินของศาลในกรณีของดา ก่อให้เกิดข้อวิตก 2 ข้อ เกี่ยวกับเหตุการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในไทย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาใน 2 แง่ คือ หนึ่ง ในแง่ของการเสื่อมลงของเสรีภาพในการแสดงออก และสอง ในแง่ของการเพิ่มขึ้นของการใช้ศาลไปในทางการเมืองอย่างเห็นได้ชัด

เหตุการณ์เช่นนี้ในเมืองไทยเป็นที่น่ากังวลอย่างยิ่ง เพราะนอกจากว่ามันเลวร้ายลงอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ยังเพราะว่า ประเทศไทยมีอิทธิพลสูงต่อการพัฒนาในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากไทยเป็นประเทศใหญ่และพัฒนากว่าประเทศอื่นในอาเซียน ถ้าไม่มีการยับยั้งการเสื่อมถอยของดัชนีต่างๆ ที่บ่งชี้ถึงสิทธิมนุษยชนของไทย ผลกระทบที่ตามมาจะก่อความเสียหายให้แก่ประเทศไทยเองและทั้งภูมิภาคโดยรวม

ข้าพเจ้าขอความกรุณาให้ท่าน ใช้อำนาจทุกอย่างที่มีอยู่เพื่อแทรกแซงเหตุการณ์ กรณีของดารณี และสถานการณ์โดยรวมอันเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการที่ขบวน การยุติธรรมถูกนำมาใช้เพื่อการเมืองในไทย

ลงนามได้ที่http://www.change.org/safe_world_for_women/petitions/view/free_da_torpedo_imprisoned_in_thailand_for_speaking_out

แถลงการณ์
ไม่มีความยุติธรรม ไม่มีทางสงบสุข
ต้องปล่อยนักโทษการเมืองทุกคนโดยไม่มีเงื่อนไข

เรา ประชาชนผู้รักความเป็นธรรม มาชุมนุมที่หน้าเรือนจำคลองเปรมแห่งนี้ เพื่อยืนยันว่าเราไม่ทอดทิ้งเพื่อนๆ เสื้อแดงผู้รักประชาธิปไตย ที่ตกเป็นเหยื่อของอำมาตย์และกลายเป็นนักโทษทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นนักโทษแกนนำ นักโทษประชาชนที่ติดคุกอยู่ต่างจังหวัด หรือนักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

เสื้อแดงเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของประชาชนรากหญ้าเพื่อ ประชาธิปไตยอันเป็นการต่อสู้เพื่อสิทธิในการแสดงออกทางการเมือง เสรีภาพ ความเสมอภาค 1คน 1 เสียง มาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล รวมทั้งต้องการปฏิรูประบบยุติธรรมอย่างถอนรากถอนโคน เนื่องจากเราเจ็บปวดจากการถูกดูถูกเหยียดหยาม ถูกเลือกปฏิบัติ ปิดกั้น กีดกัน ใส่ร้ายป้ายสี ซึ่งเป็นการลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของพวกเรา ไม่ให้มีสิทธิมีเสียงและมีอำนาจในการตัดสินใจใดๆ ตามระบอบประชาธิปไตย

เราขอยืนยันว่าประเทศไทยจะไม่มีวันมีประชาธิปไตยและความยุติธรรม ตราบใดที่ยังมีนักโทษการเมือง และถ้าสังคมเราไม่มีประชาธิปไตยและความยุติธรรม สังคมไทยจะไม่มีวันสงบสุข และจะยังคงจมอยู่ในวงจรอาชญากรรมของรัฐแบบเรื้อรังนี้ต่อไป

ดังนั้น เพื่อสร้างความสงบสุขในสังคมไทย สมัชชาสังคมก้าวหน้าขอเรียกร้องให้รัฐบาลกระทำตามข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้

1. ปล่อยนักโทษการเมืองเสื้อแดงทุกคนทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข
2. ยกเลิกกฎหมายเผด็จการทุกฉบับ ได้แก่ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ กฎอัยการศึก กฎหมายคอมพิวเตอร์ฯ และกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
3. หยุดการปิดกั้นสื่อทุกชนิด เพื่อให้ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงออก
4. ทหารที่สั่งฆ่าประชาชนต้องถูกปลดออกจากตำแหน่ง และนำมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม
5. รัฐบาลนี้ต้องลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตและบาดเจ็บสูญหายในเหตุการณ์เมษายนและพฤษภาคม 2553

สมัชชาสังคมก้าวหน้า
19 พ.ย. 53 หน้าเรือนจำคลองเปรม

http://www.change.org/safe_world_for_women/petitions/view/free_da_torpedo_imprisoned_in_thailand_for_speaking_out

0 0 0

Free Da Torpedo, imprisoned in Thailand for speaking out

Targeting: Gabriela Carina Knaul de Albuquerque e Silva (United Nations Special Rapporteur on the independence of judges and lawyers ) and Frank La Rue (United Nations Special Rapporteur on the right to freedom of opinion and expression )

Started by: Safe World for Women

Daranee Charnchoengsilpakul is known in Thailand as Da Torpedo, for being outspoken. She was arrested on 22nd July, 2008, age 46, for speaking out against royalty - a serious crime in Thailand, called Lese Majeste.

Da Torpedo was held for a year without charge and then, in August 2008, she was sentenced to 18 years imprisonment.

"The lese majeste law, as is currently applied in the last three years, has been used for the suppression of free speech for largely political purposes and not for the protection of the monarchy, for which the law was drafted,"

Benjamin Zawacki, South-east Asia researcher for Amnesty Internationalis quoted as saying.

The AHRC is not aware of another case in recent times in which a defendant has been treated as such an extraordinary threat over a question of free expression. We believe that she was treated in this manner because she chose to fight the charges, rather than plead guilty and seek a royal pardon...

The situation in Thailand is of sufficient importance not only because it has worsened considerably in recent years but also because the country has a strong influence on developments in the wider Southeast Asian region, being among the larger and more developed of its peers and a key member of the Association of Southeast Asian Nations. If nothing is done to arrest its continued decline on a range of human rights indicators then the effects will be damaging not only for Thailand but for the region as a whole.

The Asian Human Right Committee wrote in an open letter on September 4th 2009.

Over the last 2 years, the Press Freedom Index rating of Thailand has declined from 124 to 153, fast approaching that of Burma, at 174.

This should be of concern to us all.

Da Torpedo is a symbol of an ever-growing suppression of human rights in parts of Asia.

We need to send a strong message to the government of Thailand that the world will not stand by while another 'Burma situation' develops.

Please sign this petition to the UN Special Rapporteurs on Freedom of Expression and Independence of Judges and Lawyers to request their urgent intervention on behalf of Darunee Chanchoengsilapakul and also to raise concerns about the steadily declining freedom of expression and increasing politicization of the judiciary in Thailand.

Petition Text

Requesting your intervention on behalf of Da Torpedo, unjustly imprisoned in Thailand

Greetings,

I am writing to you to request urgent intervention in accordance with your respective mandate in response to the case of Darunee Chanchoengsilapakul, and also with a view to wider concerns about steadily declining freedom of expression and increasing politicization of the judiciary in Thailand.

Darunee, as you will be aware from an open letter written to you on 4th September 2009 from the Asian Human Rights Commission, was convicted and sentenced to 18 years in prison on 28th August 2009 on three counts of lese majesty.

The charges arose from one of many speeches that she made after the 2006 coup, in which she alluded to the links between the monarchy and the coup-makers, among other things. Darunee attempted three times to obtain bail but it was denied, although the court had no specific grounds upon which to refuse it under section 108 of the Criminal Procedure Code.

Furthermore, she was tried in a closed court under section 117 of the code, which stipulates grounds for a closed trial as interests of public order or national security. Her lawyer submitted an application to the Constitution Court for the trial to be invalidated on the basis that it was in violation of her constitutional rights to try her in this manner, but it was refused.

The trial and conviction of Darunee brings together two key concerns regarding the human rights situation in Thailand in the last few years: the decline in freedom of expression and the rise in use of the courts for blatant political purposes.

The situation in Thailand is of utmost concern, not only because it has worsened considerably in recent years, but also because the country has a strong influence on developments in the wider Southeast Asian region, being among the larger and more developed of its peers and a key member of the Association of Southeast Asian Nations.

If nothing is done to arrest its continued decline on a range of human rights indicators then the effects will be damaging not only for Thailand but for the region as a whole.

I implore you to do all within your power and remit to intervene on behalf of Darunee and also with regard to the wider issues relating to freedom of opinion and expression, and politicization of the judiciary, in Thailand.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน